วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบข้อที่ 1

ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบแนวคิด ขั้นตอน ผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ
ตอบ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานในโรงเรียนซึ่ง ณ ปัจจุบันควรจะก้าวเข้าสู่ยุค เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างจริงจัง ตรงตาม Concept ของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งคำว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความหมายสรุปง่าย ๆ หมายถึง กระบวนการใช้เทคโนโลยีใด ๆ เพื่อให้ ได้มาซึ่ง สารสนเทศ (Information) เพื่อการตัดสินใจดำเนินงานใด ๆ กรอบความคิด การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรโรงเรียนเมืองสมุทรสงคราม มี ขั้นตอนดังนี้
1. กำหนดจุดประสงค์ การนำคอมพิวเตอร์และการสื่อสารเข้ามาใช้ในโรงเรียน ควร กำหนดจุดประสงค์ไว้ 3 ประการ คือ
- เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ด้านต่าง ๆ
- เพื่อการบริหารจัดการในโรงเรียน (ระบบบริหารทั่วไป)
- เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้รายวิชาต่าง ๆ
2. สร้างความเข้าใจแก่บุคลากรทุกระดับ ซึ่งจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน วัฒนธรรมการทำงาน ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่นำเข้ามาใช้ บุคลกรต้องพัฒนาทั้งทักษะทางเทคโนโลยี และพัฒนาความคิด วิเคราะห์ให้เข้าใจในกระบวนการทำงานทางเทคโนโลยี ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบวิธีการทำงาน ให้สอดคล้องกับวิธีทางเทคโนโลยีต้องพัฒนาตนเอง
สิ่งที่ควรจะเป็น
1. ด้าน Hardware โรงเรียนจำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่าย (LAN) ชุดหนึ่ง มีคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ศูนย์ข้อมูลหรือ Server อย่างน้อย 1 ชุด และคอมพิวเตอร์ตัวลูกอย่างน้อย 3 กลุ่ม (จำนวนนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถและความต้องการ
กลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร และผู้ช่วยผู้บริหารทุกคน
กลุ่มที่ 2 หมวดวิชา งาน ฝ่ายต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด แนะแนว ฯลฯ
กลุ่มที่ 3 สำหรับเป็นห้องเรียน สำหรับการศึกษาเรียนรู้รายวิชาต่าง ๆ
1. โรงเรียนจำเป็นต้องวิเคราะห์ว่าการบริหาร จัดการโรงเรียน (อย่างมีระบบ มีคุณภาพ) นั้น จำเป็นต้องใช้สารสนเทศใดบ้าง ถ้าข้อที่ 1 ไม่เกิด หรือ การบริหารไม่สนใจเรื่องนี้ มีการบริหารไปตามสถานการณ์ จะทำอะไรทีก็ต้องวิ่งหาข้อมูล สารสนเทศทีหนึ่ง หรือบริหารตามความคิด ความเห็นของฝ่ายบริหาร เรื่องนี้ก็จบกัน ไม่ต้องพูดถึง Software สำหรับการบริหาร
2. ถ้าข้อ 1 พร้อม สิ่งที่ต้องคิดต่อไปคือ สร้างระบบฐานข้อมูล ฐานข้อมูลที่ดีต้องมีที่เดียว แก้ไขที่เดียว ตามภาระงานรับผิดชอบ เช่น
- ข้อมูลเกี่ยวกับความประพฤตินักเรียนอยู่ที่ฝ่ายปกครอง
- ข้อมูลประวัตินักเรียนอยู่ที่ฝ่ายวิชาการ หรือ ธุรการ
- ข้อมูลด้านสุขภาพอยู่ที่ฝ่ายบริการ หรือ งานอนามัยโรงเรียน เป็นต้น
3. ออกแบบ Software ให้แต่ละงานมี Software เพื่อบันทึกข้อมูลของแต่ละฝ่าย แต่ละงาน โดยไม่ซ้ำซ้อนกัน เช่น ฝ่ายปกครองบันทึกประวัตินักเรียน โดยรายชื่อนักเรียนดึงมาจากฝ่ายธุรการ (ฝ่ายปกครองแก้ไขไม่ได้ ฝ่ายธุรการแก้ไขได้ฝ่ายเดียว) ฝ่ายปกครองบันทึกเฉพาะพฤติกรรมนักเรียน ในทำนองเดียวกันฝ่ายวิชาการก็บันทึกเฉพาะข้อมูลผลการเรียน โดยใช้เลขประจำตัวเป็นตัวอ้างอิง เชื่อมโยงกับชื่อ และประวัตินักเรียน
4. ออกแบบ Software เพื่อประมวลผลผลรวม เพื่อฝ่ายบริหารหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ต้องการตามข้อ 1 ได้ทันที ไม่ต้องถามแต่ละฝ่าย เช่น ผู้บริหารต้องการรู้ข้อมูลของนักเรียน 1 คน ผู้บริหารต้องการรู้ข้อมูลของนักเรียน 1 คน ผู้บริหาร ระบุเลขประจำตัวนักเรียนลงไปเท่านั้นเอง ข้อมูลนักเรียนจะถูกประมูลผลขึ้นมาทันที เช่น
- ประวัติทั่วไปของนักเรียน
- ผลการเรียนของนักเรียนรายวิชาต่าง ๆ หน่วยการเรียนที่เรียน ที่ได้เกรดเฉลี่ย การติด 0 ร มส. ฯลฯ
- ประวัติพฤติกรรม ความประพฤติ คะแนนพฤติกรรมคงเหลือ ฯลฯ
- ประวัติด้านสุขภาพ ด้านการแนะแนว ฯลฯ ตามที่ออกแบบไว้
ในทำนองเดียวกัน สารสนเทศด้านอื่น ๆ เช่น นักเรียนในเขตบริการ ชุมชน ฯลฯ ก็สามารถวิเคราะห์ ประมวลผล ดูได้ทันที ถ้าฐานข้อมูลแต่ละด้านมีความสมบูรณ์ มีการบริหาร จัดการให้ฐานข้อมูลมีความเป็นปัจจุบันเท่านั้น
นอกจากฝ่ายบริหารดูข้อมูลได้แล้ว ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกันสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ตามภาระหน้าที่ เช่น ฝ่ายแนะแนว เมื่อมีนักเรียนมาปรึกษาเรื่องใด ๆ ฝ่ายแนะแนวสามารถดูประวัตินักเรียนได้ทันทีว่าประวัติทั่วไปเป็นอย่างไร ผลการเรียนเป็นอย่างไร ฝ่ายปกครองบันทึกพฤติกรรมไว้ การแนะแนวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในทำนองเดียวกัน ฝ่ายปกครองก็สามารถวิเคราะห์สาเหตุของพฤติกรรมนักเรียนแต่ละคนได้ แก้ปัญหาพฤติกรรมได้อย่างถูกต้องตรงตามสาเหตุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น